บันทึกความทรงจำ การเดินทางท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ การทำ SEO แหล่งความรู้ทุกแขนงถูกเก็บรวบรวมไว้ที่นี่ให้ทุกคนได้ศึกษา ได้เก็บเกี่ยวความรู้จากความทรงจำอันดีงาม ให้เช่าวัตถุมงคล พระเครื่อง พระบูชา รับตรงจากวัด แจกรูปฟรี
วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555
ลำไส้อักเสบเรื้อรัง IBD เช็คอาการก่อนเป็นมะเร็ง
ปัจจุบันพบว่ามีคนไทยป่วยเป็นโรค Inflammatory Bowel Disease หรือ IBD หรือโรคในกลุ่มอาการที่เกิดจากการอักเสบเรื้อ รังของลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่โดยไม่ทราบสาเหตุเพิ่มมากขึ้น พบว่ามีอุบัติการณ์ผู้ป่วยสูงขึ้นในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดคลินิกเฉพาะทาง IBD พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรค IBD พร้อมวิทยาการทางการแพทย์และ ห้องปฏิบัติการมาตรฐานสากล ศ.นพ.สิน อนุราษฎร์ ผอ.ด้านการแพทย์กลุ่ม ร.พ.บำรุง ราษฎร์ และเป็นแพทย์ในทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค IBD บอกว่า IBD เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะช่วงวัย 20-40 ปี ปัจจุบันยังไม่รู้สาเหตุของการเกิด ทำให้กลุ่มอาการ IBD จะแตกต่างจากกลุ่มลำไส้อักเสบชนิดเฉียบพลันซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ โดยแบ่งโรคในกลุ่ม IBD เป็น 2 ชนิด คือ โรคโครห์น ที่เกิดได้ทุกตำแหน่งในระบบทางเดินอาหาร และ Ulcerative Colitis หรือเรียกสั้นๆ ว่า UC ซึ่งจะเกิดเฉพาะบริเวณลำไส้ใหญ่ จากการเริ่มต้นศึกษาอย่างจริงจังจากกลุ่มผู้เข้ารับการรักษาที่ร.พ.บำรุงราษฎร์ เราพบว่าในประเทศไทยหรือในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีผู้ป่วยอยู่จำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับการวินิจฉัยเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี
′อาการผิดปกติเบื้องต้น คือ ท้องเสียเรื้อรัง มีมูกเลือดปนในอุจจาระ ปวดท้อง น้ำหนักลด หรือบางคนอาจมีไข้ร่วมด้วย ข้อสังเกตคือ เมื่อพบว่ามีอาการดังกล่าวต่อเนื่องราวสองสัปดาห์ และอาการไม่ดีขึ้นหลังได้รับยาปฏิชีวนะ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจอุจจาระหรือส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่อย่างละเอียด หลายครั้งผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นลำไส้ติดเชื้อ ซึ่งไม่ตรงกับกลุ่มอาการ หรือถึงแม้จะรู้แล้วว่าเป็น IBD ก็ยังไม่มีการรักษาที่เหมาะสม ทั้งที่โรคนี้หากเป็นมากหรือมีการอักเสบเรื้อรัง ก็มีโอกาสถึงขั้นเสียชีวิตหรืออาจเป็นมะเร็งได้ โดยทั่วไปการรักษา IBD ให้ได้ผลเต็มที่ มีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่ Remission หมายถึงการควบคุมอาการของโรคให้สงบลงด้วยการให้ยา ส่วนใหญ่จะให้ยาทาน ซึ่งผู้ป่วยจำเป็นต้องทานยาต่อเนื่องไปตลอดแม้อาการดีขึ้นแล้วก็ตาม เนื่องจากการทานยามีผลโดยตรงต่อการควบคุมอาการของโรคไม่ให้ย้อนกลับมา′
โดยแพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดผู้ป่วยบางรายเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด โดยผู้ป่วยกลุ่มที่เป็น UC การผ่าตัดเอาลำไส้ใหญ่ส่วนที่มีปัญหาออก จะช่วยรักษาโรคให้หายขาดได้ กรณีผู้ป่วยที่มีอาการหนักมากแล้ว ส่วนโรคโครห์นจะไม่นิยมผ่าตัด ยกเว้นผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมมาตั้งแต่ต้น ทำให้ผนังลำไส้กลายเป็นพังผืดตีบตันก็จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด
ร.พ.บำรุงราษฎร์ ได้เปิด ′IBD คลินิก′ เพื่อการรักษา ให้คำแนะนำ และเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยพร้อมเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้มาตรฐาน เพราะโรคนี้หากได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้อง รับการรักษาที่เหมาะสมและมีแผนการรักษาที่ชัดเจนก็จะดีขึ้น
ป้ายกำกับ:
สุขภาพ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น