บันทึกความทรงจำ การเดินทางท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ การทำ SEO แหล่งความรู้ทุกแขนงถูกเก็บรวบรวมไว้ที่นี่ให้ทุกคนได้ศึกษา ได้เก็บเกี่ยวความรู้จากความทรงจำอันดีงาม ให้เช่าวัตถุมงคล พระเครื่อง พระบูชา รับตรงจากวัด แจกรูปฟรี
วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ม.เชียงใหม่ร่วมผลิตไบโอมีเทนสำหรับรถยนต์
ม.เชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน จัดทำโครงการจัดสร้างต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน...
เมื่อวันที่ 21 ก.ค. นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่า หลังจาก ที่ สนพ.ได้สนับสนุนให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สวพ.นครพิงค์ มช.) จัดทำ “โครงการจัดสร้างต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์” เพื่อศึกษาวิธีการปรับแต่งเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซไบโอมีเทนอัดเป็นเชื้อเพลิง และจัดสร้างต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนจากก๊าซชีวภาพ ที่สามารถเคลื่อนที่ได้ (Mobile Unit) เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน โดยการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน จำนวน 14 ล้านบาท
ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการ สวพ.นครพิงค์ มช. ได้มีการจัดสร้างต้นแบบและพัฒนาเทคโนโลยีระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์ (Compressed Bio-methane Gas : CBG) ขึ้น โดยใช้ก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์เป็นวัตถุดิบ ซึ่งจากการวิจัยประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยก๊าซ CBG ที่ได้มีคุณสมบัติเทียบเท่าเอ็นจีวี สามารถผลิตก๊าซ CBG ได้ 8 กิโลกรัม (กก.) ต่อชั่วโมง
นายสุเทพ กล่าวอีกว่า เพื่อให้โครงการดังกล่าว สามารถขยายผลไปสู่การใช้งานจริงในเชิงพาณิชย์ สนพ. จึงได้มอบให้ สวพ.นครพิงค์ มช. ดำเนินการวิจัยต่อร่วมกับ บริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ฟาร์ม จำกัด ในการนำก๊าซ CBG ที่ผลิตได้ มาทดสอบประสิทธิภาพด้วยการใช้งานจริงกับรถกระบะเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2,400 ซีซี. ที่ใช้เอ็นจีวี เป็นเชื้อเพลิง พบว่าระบบสามารถทำงานได้ปกติ และเครื่องยนต์เดินเรียบเมื่อเร่งความเร็ว
“โครงการจัดสร้างต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์นี้ มีส่วนช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำก๊าซชีวภาพ มาปรับปรุงคุณภาพและผลิตเป็นก๊าซ CBG ให้ใกล้เคียงกับเอ็นจีวี เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกอีกทางหนึ่งให้กับประชาชน โดยในปี 2556 สนพ. มุ่งหวังให้มีโครงการนำก๊าซชีวภาพในระดับชุมชน มาพัฒนาปรับปรุงคุณภาพและผลิตเป็นก๊าซ CBG อีกไม่ต่ำกว่า 5 โครงการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานแล้ว ยังช่วยให้เกิดการจ้างงานในท้องถิ่น สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน” ผอ.สนพ. กล่าว
ด้าน นายบัลลพ์กุล ทิพยเนตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เชียงใหม่เฟรชมิลค์ฟาร์ม จำกัด กล่าวว่า บริษัทฯ ได้ร่วมกับ สนพ. และ สวพ.นครพิงค์ มช.ในการดำเนินโครงการฯ โดยการจัดสร้างอาคารศูนย์สาธิตต้นแบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด ในบริเวณฟาร์มโคนม อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เพื่อติดตั้งระบบผลิตก๊าซ CBG สำหรับยานยนต์ โดยใช้ก๊าซชีวภาพที่ได้จากมูลโคนมภายในฟาร์มที่ผลิตได้วันละ 2,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อเชื่อมไปยังระบบผลิตก๊าซ CBG ทั้งนี้ ฟาร์มฯ ได้ร่วมทดสอบโดยนำรถไถที่ใช้งานในฟาร์มมาติดถังก๊าซขนาด 50 ลิตรน้ำ จำนวน 1 คัน เติมก๊าซ CBG พบว่า รถไถใช้งานได้ดี และช่วยลดค่าน้ำมันดีเซลที่ใช้ในฟาร์มฯ ได้มากถึง 50%
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น