วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2555

ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน


หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ มีนามเดิมว่า "เงิน" เกิดเมื่อวันศุกร์ เดือน 10 ปีฉลู ซึ่งตรงกับวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2348 บิดาชื่อนายอู๋ มารดาชื่อนางฟัก เป็นชาวบ้านตำบลบางคลาน จังหวัดพิจิตร มีพี่น้องร่วม บิดาเดียวกันทั้งหมด 6 คน คนที่ 1 ชื่อ พรม คนที่ 2 ชื่อทับ คนที่ 3 ชื่อ ทอง คนที่ 4 ชื่อ เงิน คนที่ 5 ชื่อ หล่ำ คนที่ 6 ชื่อ รอด (ในหนังสือประวัติของท่านมีผู้เขียนไว้เป็น ๒ กระแส แต่ต่างยืนยันว่าท่านเกิดปีฉลู กระแสแรกว่าท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. 2348 อีกกระแสท่านเกิดปีฉลู พ.ศ. 2360)

เมื่อปี พ.ศ. 2356 หลวงพ่อเงิน อายุได้ 5 ขวบ นายช่วงซึ่งเป็นครูของท่าน ได้พา หลวงพ่อเงิน ไปอยู่กรุงเทพฯ จนกระทั่งหลวงพ่อเงินเติบโตเข้าศึกษาเล่าเรียนได้ จึงได้นำ หลวงพ่อเงิน ไปฝากไว้ที่วัดตองปู (วัดชนะสงคราม) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือที่วัดชนะสงครามตลอดมาจนถึงปี พ.ศ. 2363 หลวงพ่อเงินอายุได้ 12 ปีจึงได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบบวชท่านก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดชนะสงคราม ฉายา พุทธโชติ แล้วหลวงพ่อเงิน ท่านได้จำพรรษา เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐานอยู่ได้ 3 พรรษาขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดชนะสงคราม ท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์ เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคมตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยมและคงกระพันชาตรี จากเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒจารย์(โต) พรหมรังสีวัดระฆังโฆสิตาราม

 พออายุได้ ๒๐ ปี บิดา-มารดาและบรรดาญาติมีความประสงค์จะให้อุปสมบทแต่ “หลวงพ่อเงิน” ไม่ยอมเพราะเกรงว่า อายุของท่านจะไม่ครบบริบูรณ์จริง บรรดาญาติก็อนุโลมตามกระทั่งหลวงพ่ออายุได้ ๒๒ ปี ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๗๓ ได้กำหนดวันอุปสมบทไม่ทราบว่าอุปัชฌาย์ชื่ออะไรเช่นกันได้ฉายาว่า “พุทธโชติ” หลังจากอุปสมบทแล้วได้ศึกษาเล่าเรียน ธรรมะจนแตกฉาน แล้วทำการฝึกฝนวิปัสสนาจนมีญาณสมาธิแก่กล้า จึงมุ่งศึกษาพุทธาคมจาก “หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า” จนมีความชำนาญทางพุทธาคมมาก มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เล่าลือกันในบรรดาชาวบ้านมากมายพอได้อุปสมบทแล้ว ท่านก็ยังศึกษาวิปัสสนากรรมฐานต่ออีกด้วย ต่อมาอีก 3-4 ปี โยมปู่ของท่านป่วยหนัก ท่านจึงได้เดินทางกลับมายังอำเภอโพทะเล ท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดคงคาราม ประมาณ 1 พรรษา แล้วจึงย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดท้ายน้ำ ท่านเป็นพระเรืองวิชา ชอบเล่นแร่ แปลธาตุ แต่ หลวงพ่อเงิน ท่านเคร่ง ธรรมวินัย ชอบความสงบ ท่านจึงได้ย้ายไปอยู่หมู่บ้านวังตะโก ลึกเข้าไปทางลำน้ำเก่า และต่อมาก็ได้สร้างวัดหิรัญญาราม (วัดวังตะโก)

"วัดวังตะโก" เกิดขึ้น เป็นพระอาราม "หลวงพ่อเงิน" ได้เป็นผู้สร้างไว้เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2377 ต่อมาวัดวังตะโก หรือวัดหิรัญญารามก็เจริญอย่างรวดเร็ว มีผู้คนเคารพนับถือและถวายตัวเป็นศิษย์ ขอมาฟังธรรมขอเครื่องรางของขลัง และขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาโรคให้ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์และสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณฝ่ายวิปัสสนา

หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น มีผู้คนมาให้ท่านช่วยรดน้ำมนต์ให้ไม่ขาดสาย ลูกศิษย์ของหลวงพ่อเงินวัดบางคลานที่มีชื่อเสียงโด่งดังต่อมาก็มีหลายท่าน เช่น หลวงพ่อพิธ วัดฆะมัง ที่มีชื่อเสียงในด้านตะกรุดคู่ชีวิต หลวงพ่อน้อย วัดคงคาราม ผู้สร้างตะกรุดหนังปลากระเบน และตะกรุดหนังอีเก้ง ปลัดชุ่ม วัดท้ายน้ำ หลวงพ่อหอม วัดหลวง หลวงพ่อนวล วัดหาดมูลกระบือ หลวงพ่อฟุ้ง วัดปากน้ำ หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย หลวงพ่อไป๋ วัดท่าหลวงพล ผู้สร้างเหรียญหล่อหลวงพ่อเพชรจำลอง หลวงปู่ภู วัดท่าฬ่อ เป็นต้น นอกจากนี้ศิษย์ฆราวาสก็คือเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

ท้ายที่สุด หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้รับสมณศักดิ์เป็นท่านเจ้าคุณ ฝ่ายวิปัสสนาจารย์ หลวงพ่อเงิน ท่านได้มรณภาพ ด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์เดือน 10 แรม 11 ค่ำ ปีมะแมเวลา 5.00 น.ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2462รวมอายุได้ 111 ปีพรรษา 90 ณ วัดวังตะโก ตำบลบางคลาน อำเภอบางคลาน จังหวัดพิจิตร คงทิ้งไว้แต่เรื่องราวอันเป็นปาฏิหาริย์มากมาย นับว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีอายุยืนนานมากที่สุดรูปหนึ่ง ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร พระเครื่องหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานนับเป็นอีกหนึ่งในจำนานของวงการพระเครื่องไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น