พิพิธภัณฑ์อยู่สุขสุวรรณ์ อยู่ห่างจากตัวเมืองปราจีนบุรีประมาณ 6 กิโลเมตร ตั้งอยู่ที่ 135 ถ.ปราจีนตคาม ต.ดงขี้เหล็ก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ไปทาง อ.ประจันตคาม พื้นที่โดยรอบของพิพิธภัณฑ์โอบล้อมไปด้วยพรรณไม้สวยงามนานาชนิด อีกทั้งยังมีสัตว์สวยงามต่างๆมากมาย เมื่อท่านได้ก้าวเข้าสู่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ท่านจะได้พบกับตะเกียงจำนวนมาก มหาศาลซึ่งมีแขวนอยู่ทุกๆที่ ไม่ว่าจะเป็นตามที่จอดรถ ร้านค้าบนเพดานตามอาคารต่างๆ แม้กระทั่งห้องน้ำอีก ด้วย
อัตราค่าเข้าชมนั้นไม่แพงเลยครับ
ชาวไทย - ผู้ใหญ่ 80 บาท/ท่าน,เด็ก 30 บาท/ท่าน
ชาวต่างชาติ - ผู้ใหญ่ 150 บาท/ท่าน,เด็ก 100 บาท/ท่าน
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีอาคารทั้งหมด 5 อาคาร ซึ่งประกอบไปด้วย
อาคารที่ 1 อาคารราชาวดี อาคารนี้เป็นอาคารสองชั้น ในส่วนของการจัดแสดงชั้นล่าง ได้จัดแสดงเกี่ยวกับสิ่งของโบราณหลากหลายชนิดอาทิเช่น เครื่องเงิน เครื่องทองเหลือง เตารีดโบราณ เครื่องปั้นดินเผา ตู้เย็นใช้น้ำมันก๊าซ เป็นต้นในส่วนของชั้นสองเป็นชั้นที่รวบรวมตะเกียงเจ้าพายุหลากหลายยี่ห้อ ทั้งยังมีตะเกียงที่มีการใช้งานที่แตกต่างกันไปเช่น ตะเกียงเรือ ตะเกียงฉายสไลด์ นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของส่วนประกอบตะเกียงให้ท่านได้ศึกษาอีกด้วย
อาคารที่ 2 อาคารลีลาวดี อาคารนี้เป็นอาคารแฝดที่เชื่อมต่อกันทั้งหมดซึ่งมีสองชั้นรวมหกห้องโดยแบ่ง เป็นสองชั้น ชั้นล่างประกอบไปด้วย - ห้องราชพฤกษ์ - ห้องชัยพฤกษ์ - ห้องกัลปพฤก - ห้องทองกวาว - ห้องทองหลาง - ห้องทองพันชั่ง
อาคารที่ 3 อาคารชวนชม อาคารนี้เป็นอาคารชั้นเดียว อาคารแห่งนี้จัดแสดงในเรื่องของรูปเก่าของเมืองปราจีนบุรีในสมัยก่อน และรูปของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งเสด็จมาเยือนจังหวัดปราจีนบุรี ณ วัดแก้วพิจิตร และยังมีหนังสือเก่านานาชนิด เช่น หนังสือพิมพ์ที่วางจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 หนังสือการ์ตูน และสำหรับผู้ที่ชื่นชอบในเรื่องของแสตมป์ ทางพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงแสตมป์ที่สำคัญๆไว้หลายชุดด้วยกัน รวมถึงยังมีล็อตเตอรี่รุ่นแรกของไทยอีกด้วย
อาคารที่ 4 อาคารเจ้าพายุ อาคารนี้เป็นอาคารที่สร้างจากรูปแบบของตะเกียงเจ้าพายุ โดยมีส่วนสูงประมาณ 13 เมตร ซึ่งภายในของอาคารนี้นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นไปเพื่อชมวิวโดยรอบได้
อาคารที่ 5 อาคารฟ้าประดิษฐ์ ซึ่งที่นี้ท่านจะได้พบกับเรือหลากหลายชิด ไม่ว่าจะเป็นเรือขุดที่ใช้ต้นไม้ทั้งต้นมาทำเป็นเรือขุดเพียงลำเดียว และภายในโรงเรือนยังมีเรือนผูก ซึ่งเป็นบ้านที่สร้างจากไม้ไผ่โดยไม่ต้องใช้ตะปูหรือลวดในการก่อสร้างเลย และภายในบ้านได้จัดข้าวของเครื่องใช้ในการดำรงชีวิตในสมัยก่อน ให้เยาวชนได้ศึกษาอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น