"พูดมาก เสียมาก
พูดน้อย เสียน้อย
ไม่พูด ไม่เสีย
นิ่งเสีย โพธิสัตว์"
พูดน้อย เสียน้อย
ไม่พูด ไม่เสีย
นิ่งเสีย โพธิสัตว์"
เมื่อกล่าวถึงหลวงปู่ทวด มักจะนึกถึงเรื่องที่หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด แต่ความจริงแล้วน้ำทะเลไม่ได้จืดทั้งหมด แต่จืดเฉพาะบริเวณที่เหยียบ
เป็นเรื่องปรกติที่มนุษย์มักจะคิดถึงเรื่องอิทธิปาฏิหารย์ต่างๆเป็นหลัก ว่าวิเศษอย่างนู้นอย่างนี้ แต่ลืมคิดถึงหลักคำสอน อย่างเช่นประโยคที่ยกตัวอย่างมานี้
คนเราทำกรรมได้ 3 ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ เมื่อวาจาดี ย่อมได้บุญ ที่กล่าวมาว่า ไม่พูด ไม่เสียนั้น ไม่ใช่ว่าไม่ให้พูดกับใครเลย แต่ควรพูดเมื่อจำเป็นเท่านั้น และก็ต้องคิดให้ดีก่อนพูด
บางทีอาจจะคิดว่าสิ่งที่พูดนั้นคือความดี เช่น พูดเรื่องธรรมะ แต่ลืมดูไปว่าพูดให้ใครฟังอยู่ แล้วเขากำลังทำอะไรอยู่ เช่น พูดเรื่องธรรมะในวงเหล้า หรือพูดสอนพ่อสอนแม่ สอนพระสงฆ์ ซึ่งไม่สมควร คือบางทีก็ต้องคิดให้ดี ว่าอยู่ในสถานการณ์แบบใด ไม่ใช่ว่าตัวเองศึกษาธรรมะมาแล้วจะไปพูดที่ไหนก็ได้
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าบทหนึ่งที่สอนเกี่ยวกับเรื่องการกล่าววาจา ดังนี้
1.) วาจาใดไม่จริง ไม่มีประโยชน์ ทั้งไม่เป็นที่พอใจกับผู้อื่น ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
2.) วาจาใดจริง แต่ไม่มีประโยชน์ แม้จะเป็นที่พอใจหรือไม่พอใจกับผู้อื่นก็ตาม ตถาคตไม่กล่าววาจานั้น
3.) วาจาใดที่จริง และเป็นประโยชน์ แต่ไม่เป็นที่พอใจของผู้อื่น ตถาคตรู้เวลาที่จะกล่าววาจานั้น
4.) วาจาใดจริง มีประโยชน์ และเป็นที่พอใจกับผู้อื่น ตถาคตจึงจะกล่าววาจานั้น
สังเกตุข้อที่ 3 ให้ดี ถึงแม้ว่าจะจริง และมีประโยชน์ แต่ไม่ถูกที่ถูกเวลา ก็ไม่ควรพูด อย่าอยากโชว์มากเกินไป เพราะบางทีจากที่จะเป็นประโยชน์ ก็กลับกลายเป็นโทษได้เช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น