วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คันที่ปากช่องคลอด



เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของโรคในสตรี อาจเกิดจากโรคของปากช่องคลอดเอง หรืออวัยวะใกล้เคียง สาเหตุ เช่น ความผิดปกติของผิวหนังปากช่องคลอด หรือพบร่วมกับโรคของระบบอื่นๆ เช่น โรคระบบต่อมไร้ท่อ เบาหวาน โรคเลือดบางชนิด เป็นต้น

        การดูแลตนเอง แนะนำให้ใส่ชุดชั้นในที่ทำจากผ้าฝ้าย (cotton) สีขาว และไม่คับแน่น เพื่อป้องกันการอับชื้น สังเกตระยะเวลาที่เกิดอาการ เช่น สัมพันธ์กับรอบระดู ชนิดผ้าอนามัยที่ใช้เป็นแบบสอด (tampon) หรือแผ่น (napkin) เกิดหลังมีเพศสัมพันธ์ อาจจากถุงยางอนามัย หรือสารหล่อลื่น การใช้น้ำยาสวนล้างช่องคลอด

       สาเหตุจากผื่นสัมผัสหรือระคาย มักพบแผลพุพอง หนอง สะเก็ดเหลือง ตุ่มแดง ตุ่มพองน้ำใส และแตกออกเป็นน้ำเหลืองเยิ้ม คันมาก ให้เลี่ยงสัมผัสสิ่งที่แพ้ แล้วใช้ cold wet dressing โดยใช้น้ำเกลือที่ทำ wet dressing ชุบผ้าแช่ในช่องเย็นจัดนำมาปิดทับบ่อยๆ

        สังเกตผื่นบริเวณปากช่องคลอด เช่น ผื่นนูนแดง มีขุยสีเงินขอบเขตชัดเจน อาจมาจากสะเก็ดเงิน ซึ่งมักพบรอยผื่นที่บริเวณอื่น เช่น ข้อศอก เข่า ศีรษะ หลัง เล็บมีหลุมเล็กๆ (pitting nail)

        หากเป็นผื่นขุยลอกอักเสบ พบในตำแหน่งที่มีต่อมไขมันมาก เช่น หนังศีรษะ คิ้ว รักแร้ ร่องใต้จมูก มักคิดถึงรังแค (Seborrheic dermatitis)

       ซึ่งทั้งสองกรณีข้างต้น น้ำมันมะพร้าวชนิด VCO เป็นข้อบ่งใช้ที่ดี (ทั้งกินและทา)

       กรณีผื่นเป็นวง มีขุยรอบๆบริเวณ ตรงกลางเรียบ ตรวจด้วยกล้องพบเชื้อรา ก็ต้องใช้ยากลุ่มต้านเชื้อรา

       ในเด็กเล็กมักพบสาเหตุจากพยาธิเส้นด้าย (Enterobius vermicularis pinworm) ทำให้คันปากช่องคลอด และทวารหนัก โดยเฉพาะเวลากลางคืน (เมื่อได้รับยาถ่ายพยาธิก็หายได้)

       อาการคันจากหิด จะตรวจพบตุ่มหรือตุ่มน้ำบริเวณที่ตัวหิดเจาะเข้าผิวหนังไปวางไข่

       เชื้อโลน (pedicularis pubis) ก็ทำให้เกิดอาการคันปากช่องคลอดได้มาก การตรวจบริเวณขนด้วยแว่นขยาย จะพบตัวโลนได้

        การอักเสบบริเวณช่องคลอด และปากช่องคลอดเป็นสาเหตุที่พบบ่อยสุดของอาการคันที่ปากช่องคลอด ดังนั้นการตรวจตกขาวด้วยกล้องจุลทรรศน์ หรือน้ำยาทางการแพทย์จึงเป็นขั้นตอนถัดไป ตลอดจนการตรวจภายในโดยแพทย์

        สาเหตุอื่นที่พบน้อย เช่น ยุง, หมัด, แมลงกัดต่อย

        ยังมีกลุ่มที่ตรวจไม่พบรอยโรคที่ผิวหนัง ก่อนบอกว่าเป็นโรคจิต เช่น เบาหวาน ซึ่งอาจเกิดเชื้อราตามมา โรคทางเดินน้ำดีและตับ เช่น ตับอักเสบ ดีซ่าน นิ่วในถุงน้ำดี ก็คันที่ปากช่องคลอดได้

       โรคเลือด เช่น ลิวคีเมีย โลหิตจาง ไตวาย ทางเดินอาหาร สะเก็ดเงิน รังแค แพ้ยา

        ส่วนใหญ่แพทย์มักให้ยาสเตียรอยด์ทา เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น