" ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์ "
เชียงใหม่ หรือชื่อเดิม “นพบุรีศรีนครพิงค์” ก่อตั้งเป็นราชธานีแห่งอาณาจักรล้านนาเมื่อกว่า 700 ปีก่อน โดยพญาเม็งรายมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เม็งราย ต่อมาในสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เชียงใหม่มีฐานะเป็นเมืองประเทศราช และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองเชียงใหม่จึงเปลี่ยนฐานะเป็นมณฑลพายัพ และกลายเป็นจังหวัดในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
เชียงใหม่นับเป็นศูนย์กลางของจังหวัดในภาคเหนือ โดยเฉพาะเรื่องการท่องเที่ยว ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างประเทศ เนื่องจากความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยว ทั้งทางด้านธรรมชาติอันงดงาม ด้านศิลปวัฒนธรรม และประเพณีของชาวเชียงใหม่ที่เป็นเอกลักษณ์น่าประทับใจ และความพรั่งพร้อมในเรื่องสถานที่พักและบริการด้านการท่องเที่ยวต่างๆ ที่หลากหลาย เป็นที่ดึงดูดคนมาท่องเที่ยวนับล้านคนในแต่ละปี
ประวัติและความเป็นมา :
เชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ในตำนานแรกๆ ที่กล่าวถึงเชียงใหม่ อย่างตำนานว่าด้วยพระธาตุในล้านนา กล่าวถึง ลัวะ ว่าเป็นชนพื้นเมืองมาก่อน ตำนานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์และจามเทวีวงศ์ กล่าวเปรียบเทียบลัวะ ว่าเป็นคนเกิด ในรอยเท้าสัตว์ ด้วยเหตุที่ ลัวะ ถือเอารูปสัตว์เป็นสัญลักษณ์ ตำนานรุ่นหลังอย่างตำนานสุวรรณคำแดง หรือ ตำนานเสาอินทขิล เล่าว่า ลัวะ เป็นผู้สร้าง เวียงเจ็ดลิน เวียงสวนดอก และเวียงนพบุรี หรือ เชียงใหม่ ลัวะ จึงน่าจะเป็นชนกลุ่มแรก ที่สร้างเมือง แต่ก่อนหน้านี้ ก็คงมีมนุษย์อาศัยอยู่ที่นี่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่เป็นเมืองเต็มรูปแบบ
ในขณะเดียวกัน ที่ลำพูน ก็มีเมืองชื่อหริภุญไชย ตามตำนานการสร้างเมืองเล่าว่า พระนางจามเทวีวงศ์ ธิดากษัตริย์เมืองละโว้ เสด็จขึ้นมาครองหริภุญไชยใน พ.ศ.1310-1311 ครั้งนั้น พระนางได้พาบริวาร ข้าราชบริพาร ที่เชี่ยวชาญ ในศิลปวิทยาการต่างๆ ขึ้นมาด้วย หริภุญไชยจึงได้รับเอาพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ละโว้ มาใช้ในการพัฒนาจนเจริญขึ้นเป็นแคว้นใหญ่ จวบจนประมาณปี พ.ศ.1839 พญามังราย ผู้สืบเชื้อสายมาจากปู่เจ้าลาวจก หรือ ลวจักราช เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ลาว ครองเมืองเงินยาง ซึ่งได้แผ่อำนาจครอบคลุมลุ่มแม่น้ำกก และได้สร้างเวียงเชียงราย ขึ้นเป็นกองบัญชาการ ซ่องสุมไพร่พล เพื่อยึดครองหริภุญไชย เนื่องจากหริภุญไชย เป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญ และเป็นชุมทางการค้า
พญามังรายได้เข้ายึดครองหริภุญไชย แล้วประทับอยู่เพียง 2 ปี ก็ทรงย้ายไปสร้างเวียงกุมกาม ใน พ.ศ.1837 ก่อนจะย้ายมาสร้าง เวียงเชียงใหม่ ใน พ.ศ.1839 โดยได้ร่วมกับพระสหายคือ พญางำเมือง และพ่อขุนรามคำแหง สถาปนา "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ขึ้น
พญามังรายได้พัฒนาเมืองเชียงใหม่ ทั้งการก่อสร้างวัดวาอาราม มีการตรากฏหมายที่เรียกว่า "มังรายศาสตร์" รวมถึง รับเอาพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ เข้ามาเผยแผ่ ในอาณาจักร ซึ่งทำให้พระภิกษุ ในล้านนา สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก สมัยพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์องค์ที่ 9 อาณาจักรล้านนา ได้ขยายออกไปอีกอย่างกว้างขวาง พร้อมกับได้ผูกสัมพันธไมตรี กับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในสมัยของพระเจ้าติโลกราชนี้เอง ที่ได้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมลงไปปลายสมัยพญาเมืองแก้ว เนื่องจากทำสงครามกับเชียงตุง พ่ายแพ้เสียชีวิตไพร่พลเป็นอันมาก ประกอบกับเกิดอุทกภัย กระทบถึงความมั่นคงของอาณาจักร เมืองในการปกครองเริ่มตีตัวออกห่าง พ.ศ.2101 ในสมัยมหาเทวีจิรประภา กษัตริย์องค์ที่ 15 พม่าได้ยกกองทัพมาตีเชียงใหม่ เพียง 3 วันก็เสียเมือง และกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึง 216 ปี
ต่อมาในปี พ.ศ.2317 พญาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกันต่อต้านพม่า และอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ยกทัพมาขับไล่พม่าพ่ายแพ้ไป ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงแต่งตั้งพระเจ้ากาวิละ ขึ้นครองเมือง ในฐานะเมืองประเทศราช พระเจ้ากาวิละ ได้ฟื้นฟูเชียงใหม่จนมีอาณาเขตกว้างขวาง การค้าขายรุ่งเรือง ขณะเดียวกันก็ได้จัดส่งบรรณาการ ส่วยสิ่งของและอื่นๆ ให้แก่กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งยังมีอำนาจในการแต่งตั้งตำแหน่งเจ้าเมืองและขุนนางระดับสูง
ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่ออิทธิพลตะวันตกแผ่เข้ามาในเมืองไทย มีการปฏิรูปการปกครอง โดยผนวกดินแดนล้านนาเข้ามาเป็นมณฑลพายัพ แต่ก็ยังเป็นเมืองประเทศราชในอาณัติราชอาณาจักรสยาม ตรงกับรัชสมัยของเจ้าอินทวิชยานนท์ และรัชกาลที่ 5 ได้ทรงขอเจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเป็นชายา ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักรใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น
เมื่อมีการสร้างทางรถไฟขึ้นในเวลาต่อมา ส่งผลให้เมืองเชียงใหม่ ขยายตัวยิ่งขึ้น และใกล้ชิดกรุงเทพฯ มากขึ้น ในปี พ.ศ.2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิก เชียงใหม่มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่ง หลังจากนั้นเชียงใหม่พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนมีความสำคัญรองจากกรุงเทพฯ เท่านั้น
อาณาเขต :
ทิศเหนือ ติดกับรัฐเชียงตุงของประเทศพม่า
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดลำพูน และ จังหวัดตาก
ทิศตะวันออก ติดกับ จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงราย และ จังหวัดลำพูน
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน
จังหวัดเชียงใหม่แบ่งการปกครองออกเป็น 22 อำเภอและ 2 กิ่งอำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอหางดง อำเภอแม่แตง อำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอเชียงดาว อำเภอสันทราย อำเภอฝาง อำเภอฮอด อำเภออมก๋อย อำเภอพร้าว อำเภอแม่ริม อำเภอสะเมิง อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอสันป่าตอง อำเภอแม่อาย อำเภอดอยเต่า อำเภอเวียงแหง อำเภอไชยปราการ อำเภอแม่วาง กิ่งอำเภอแม่ออน และกิ่งอำเภอดอยหล่อ
ระยะทางจากตัวเมืองไปยังอำเภอและกิ่งอำเภอต่างๆ
อำเภอแม่ริม 8 กิโลเมตร
อำเภอสารภี 10 กิโลเมตร
อำเภอสันทราย 12 กิโลเมตร
อำเภอสันกำแพง 13 กิโลเมตร
อำเภอหางดง 15 กิโลเมตร
อำเภอดอยสะเก็ด 18 กิโลเมตร
อำเภอสันป่าตอง 22 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอแม่ออน 29 กิโลเมตร
อำเภอแม่วาง 35 กิโลเมตร
อำเภอแม่แตง 40 กิโลเมตร
อำเภอสะเมิง 54 กิโลเมตร
อำเภอจอมทอง 58 กิโลเมตร
อำเภอเชียงดาว 68 กิโลเมตร
อำเภอฮอด 88 กิโลเมตร
อำเภอพร้าว 103 กิโลเมตร
อำเภอดอยเต่า 121 กิโลเมตร
อำเภอไชยปราการ 131 กิโลเมตร
อำเภอเวียงแหง 150 กิโลเมตร
อำเภอฝาง 154 กิโลเมตร
อำเภอแม่แจ่ม 156 กิโลเมตร
อำเภอแม่อาย 174 กิโลเมตร
อำเภออมก๋อย 179 กิโลเมตร
หมายเลขโทรศัพท์สำคัญ (รหัสทางไกล 053)
งานข่าวสารการท่องเที่ยว ททท. 02-694-1222 ต่อ 8 , 02-282-9773
ททท.ภาคเหนือ เขต 1 (เชียงใหม่) 053-248-604 , 053-248-607
ประชาสัมพันธ์จังหวัด 053-219-092 , 053-219-291
สำนักงานท่องเที่ยวเทศบาลนครเชียงใหม่ 053-252-557 , 053-233-178
ตำรวจท่องเที่ยว จ.เชียงใหม่ 053-278-798 , 053-248-974 , 053-242-966 , 053-248-130
ตำรวจทางหลวง 053-242-441
สภ.อ.เมืองเชียงใหม่ 053-814-313-4
สภ.อ.จอมทอง 053-341-193-4
สภ.อ.ช้างเผือก 053-218-443
สภ.อ.เชียงดาว 053-455-081-3
สภ.อ.ดอยสะเก็ด 053-495-491-3
สภ.อ.ดอยเต่า 053-469-019
สภ.อ.ฝาง 053-451-148
สภ.อ.พร้าว 053-475-312
สภ.อ.ภูพิงค์ราชนิเวศน์ 053-211-750
สภ.อ.แม่แจ่ม 053-485-110
สภ.อ.แม่แตง 053-471-317
สภ.อ.แม่ปิง 053-272-212
สภ.อ.แม่ริม 053-297-040
สภ.กิ่ง อ.แม่วาง 053-928-028
สภ.กิ่ง อ.แม่ออน 053-859-452
สภ.อ.แม่อาย 053-459-033
สภ.อ.เวียงแหง 053-477-066
สภ.อ.สะเมิง 053-487-090
สภ.อ.สันกำแพง 053-332-452 , 053-331-191
สภ.อ.สันทราย 053-491-949
สภ.อ.สันป่าตอง 053-311-122-3
สภ.อ.สารภี 053-322-997
สภ.อ.หางดง 053-441-801-3
สภ.อ.อมก๋อย 053-467-003
สภ.อ.ฮอด 053-461-101
รพ.จินดา 053-244-140 , 053-243-673
รพ.ช้างเผือก 053-220-022
รพ.เชียงใหม่ เซ็นทรัล เมมโมเรียล 053-277-090-3
รพ.เชียงใหม่ราม 053-852-590-6
รพ.เซนต์ปีเตอร์ อาย 053-225-011-5
รพ.ดารารัศมี 053-297-207
รพ.ประชาเวศ เชียงใหม่ 053-801-999
รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ (สวนดอก) 053-221-122
รพ.แมคคอร์มิค 053-262-200-19
รพ.ลานนา 053-357-234-53
รพ.รวมแพทย์ 053-273-576-7
รพ.นครพิงค์ 053-890-755-64
รพ.ดอยสะเก็ด 053-495-505
รพ.แม่อาย 053-459-036
รพ.สะเมิง 053-487-124-5
รพ.ฮอด 053-831-443
รพ.แม่แจ่ม 053-485-073
รพ.ดอยเต่า 053-833-098
คำแนะนำการท่องเที่ยวเชียงใหม่
- # ช่วงฤดู หนาวจัดเป็นช่วงที่เหมาะสมสำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงนั้นจะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดเทศกาล ทำให้การจราจรในย่านตัวเมืองติดขัด แนะนำให้ใช้รถสองแถว หรือเช่ารถจักรยาน รถมอเตอร์ไซค์ ขี่เที่ยวในย่านตัวเมืองเชียงใหม่จะสะดวกที่สุด
- การขับรถเดิน ทางท่องเที่ยวไปยังสถานที่ต่างๆ ที่สภาพเส้นทางลาดชันไปตามไหล่เขา ผู้ขับต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นและเคารพกฎจราจรอย่างเคร่งครัด
- ช่วง เวลาสำหรับการดูนกบนดอยอินทนนท์ คือ ช่วงเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งจะมีนกอพยพหนีหนาวมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
- ในเชียงใหม่ มีสถานที่ชมดอกนางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระเมืองไทยอยู่หลายแห่ง แต่ละแห่งสวยงามไม่แพ้กัน เช่น ดอยอินทนนน์ ดอยขุนแม่ยะ ดอยขุนช่างเคี่ยน ดอกนางพญาเสือโคร่งมักออกดอกบานสะพรั่งพร้อมกันทั้งต้นในช่วงระหว่างเดือน ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ควรตรวจสอบข้อมูลก่อนเดินทางไปท่องเที่ยว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น