บันทึกความทรงจำ การเดินทางท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ การทำ SEO แหล่งความรู้ทุกแขนงถูกเก็บรวบรวมไว้ที่นี่ให้ทุกคนได้ศึกษา ได้เก็บเกี่ยวความรู้จากความทรงจำอันดีงาม ให้เช่าวัตถุมงคล พระเครื่อง พระบูชา รับตรงจากวัด แจกรูปฟรี
วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน สิรินาถราชินี เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านการฟื้นฟูป่าชายเลนจากนากุ้งร้างแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองเก่า – คลองคอย ตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดิมเป็นพื้นที่สัมปทานนากุ้งในช่วงปี พ.ศ.2524-2539 ป่าผืนนี้ฟื้นชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง ด้วยน้ำพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เมื่อครั้งเสด็จฯ ปราณบุรี ปี พ.ศ.2539 กรมป่าไม้สนองพระราชดำริ ด้วยการยกเลิกสัมปทานและผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาป่าไม้ปากน้ำ ปราณบุรี
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อีกทั้งยังดำเนินการฟื้นฟูป่าด้วยการกำหนดเป็นพื้นที่เป้าหมายปลูกป่า (Forest Plantation Targer- FPT) ในโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ในปี พ.ศ.2539 ซึ่ง บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ได้เข้าร่วมโครงการและดำเนินการปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลน ในเวลาต่อมา
ศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ประกอบด้วย
1. พื้นที่อาคารเฉลิมพระเกียรติและส่วนบริการนักท่องเที่ยว (Visitor Service Zone)
2. พื้นที่เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ( Natural Trail Route Zone) ประกอบด้วยศาลาที่ประทับและเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ
3. พื้นที่ศึกษาเรียนรู้ ( Education Zone )
3.1 พื้นที่ศึกษาวิจัย เป็นบริเวณที่มีลักษณะทางกายภาพและโครงสร้างของระบบนิเวศของพืชและสัตว์ที่ ใกล้เคียงกับระบบนิเวศในส่วนอื่นๆของป่าชายเลนแห่งนี้ เพื่อใช้เป็นพื้นที่ตัวแทนสำหรับการศึกษา
3.2 พื้นที่สาธิต/ทดลอง เป็นบริเวณแปลงนากุ้งร้างหรือป่าหย่อมเล็กๆซึ่งต้องมีการปรับพื้นที่ให้มี ทางน้ำเข้า – ออกเลียนแบบระบบธรรมชาติรวมทั้งระบบการกั้นและเก็บกักน้ำเพื่อการทดลอง
3.3 ศูนย์สาธิตการเผาถ่านอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
3.4 เรือนเพาะชำกล้าไม้
4. พื้นที่เชื่อมต่อกับวนอุทยานปราณบุรี (Connect Area Zone) เป็นส่วนเชื่อมต่อทำให้เกิดการท่องเที่ยวบริเวณแม่น้ำปราณบุรี ระหว่างวนอุทยานปราณบุรี แม่น้ำปราณบุรี และแปลงปลูกป่า FPT 29 และ FPT29/3 ซึ่งประกอบด้วย
4.1 ท่าจอดเรือเพื่อรับผู้เยี่ยมชมที่มาจากทางน้ำจากวนอุทยานปราณบุรีและแม่น้ำปราณบุรี
4.2 Green Shuttle เพื่อขนส่งผู้เยี่ยมชมไป – กลับระหว่างท่าจอดเรือและศูนย์สิรินาถราชินี โดยจะเป็น shuttle ที่ใช้พลังงานจาก NGV หรือไฟฟ้าเท่า
5. พื้นที่ชุมชนใช้ประโยชน์ร่วม ( Communal Zone ) ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของแปลง ปลูกป่า FPT 29 และ FPT29/3 โดยจะปล่อยให้เป็นพื้นที่ป่าชายเลนที่เติบโตตามธรรมชาติและยังคงดำรงไว้ซึ่งวิถีชีวิตของผู้คนที่ได้พึ่งพิงอาศัยป่าเพื่อการยังชีพทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยพื้นที่นี้จะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้บริการเข้าชม
ป้ายกำกับ:
แหล่งท่องเที่ยว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น