บันทึกความทรงจำ การเดินทางท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ การทำ SEO แหล่งความรู้ทุกแขนงถูกเก็บรวบรวมไว้ที่นี่ให้ทุกคนได้ศึกษา ได้เก็บเกี่ยวความรู้จากความทรงจำอันดีงาม ให้เช่าวัตถุมงคล พระเครื่อง พระบูชา รับตรงจากวัด แจกรูปฟรี
วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
พ่อท่านแสง อาภาธโร วัดศิลาลอย จ.สงขลา
ท่านเป็นศิษย์ของท่านอุปัชฌาย์แก้ว พุทธมุนี วัดดีหลวง ท่านอุปสมบทพร้อมกันรวมสามองค์คือ1.พระครูโอภาสธรรมรัตน์ (แสง อาภาธโร) วัดศิลาลอย 2.พระครุประภัสสรขันติคุณ(ผ่อง ขันติพโล) วัดนางเหล้า(มรณะภาพแล้ว) 3.อาจารย์แดง วัดนางเหล้า(มรณะภาพแล้ว) เมื่ออุปสมบทแล้วทั้งสามองค์ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดถึงศึกษาพุทธาคม เวทย์มนต์คาถาจากองค์อุปัชฌาย์ของท่านจนหมดสิ้น ท่านอยู่ศึกษาอยู่ที่วัดดีหลวงอยู่หลายพรรษาก่อนที่จะแยกย้ายกันไปโดยพ่อท่านผ่อง ขันติพโลและอาจารย์แดง ได้ไปจำพรรษาวัดนางเหล้า และท่านได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดศิลาลอยและท่านก็ได้พัฒนาวัด ตลอดถึงเมตตาสั่งสอนศิษย์ สงเคราะห์ญาติโยมที่เข้ามาขอความเมตาจากท่านอย่างสุดความรู้ความสามารถเมื่อครั้งวัดพระโคะสร้างหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี2505 ท่านเป็นองค์ดำเนินการในด้านพิธีกรรมตลอดถึงมวลสารต่างๆ ท่านมีความเชี่ยวชาญในด้านว่านยาอย่างเอกอุ ท่านมีความพิถีพิถันในเรื่องพิธีกรรมและเคร่งครัดห้ามมิให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาข้องแวะโดยเด็ดขาด หากมีความจำเป็นต้องมีผู้ร่วมประกอบพิธีกรรมท่านจะต้องให้ถือศิลปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์ตลอดระยะเวลาที่ประกอบพิธีกรรม ท่านทุ่มเทตั้งใจสร้างหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี05 วัดพะโคะอย่างเต็มที่ เต็มกำลัง ด้วยมวลสารชั้นครู ประกอบพิธีกรรมตามตำราบูรพาจารย์
หลวงปู่สรวง วัดไพรพัฒนา ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
หลวงปู่สรวงแต่เดิมเป็นชาวกัมพูชาและได้เดินทางมาอยู่บริเวณอำเภอขุนหาญและอำเภอขุขันธ์ แถบชายแดนตามเชิงเขาพนมดังรัก (พนมดองเร็ก) ซึ่งเป็นเขตกั้นกลางระหว่างประเทศกัมพูชา ท่านเป็นผู้ทรงศีลปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ และได้พักอาศัยอยู่ตามกระท่อมในไร่นาของชาวบ้านโคก และเวียนไปในที่ต่างๆ นานๆ ก็จะกลับมาให้เห็น ณ ที่เดิมอีก
ในสายตาและความเข้าใจของชาวบ้านในสมัยนั้นมองท่านว่าเป็นผู้มีคุณวิเศษแตกต่างจากบุคคลทั่วไป และเรียกขานท่านว่า “ลูกเอ็อวเบ๊าะ” หรือ “ลูกตาเบ๊าะ” (เป็นภาษาเขมร หมายถึงพระดาบสที่เป็นผู้รักษาศีลอยู่ตามถ้ำตามป่าเขา)
ในสมัยนั้น มีป่าเขาอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยป่าไม้และสัตว์ป่านานาพันธุ์ มีลูกศิษย์ติดตามหลวงปู่เดินธุดงค์ตามป่าเขาแถบชายแดนไทย ตลอดจนถึงประเทศเขมร แต่ก็อยู่กับหลวงปู่ได้ไม่นานจำต้องกลับบ้าน เนื่องจากทนความยากลำบากไม่ไหว หลวงปู่จึงเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆโดยลำพัง ทำให้ไม่มีใครทราบถิ่นกำเนิดและอายุของหลวงปู่ที่แท้จริง รู้เพียงแต่ว่าหลวงปู่เป็นชาวเขมรต่ำ ได้เข้าอาศัยในประเทศไทยนานแล้ว คนแก่คนเฒ่าผู้สูงอายุที่เคยเห็นท่านต่างพูดว่า พอจำความได้ก็เห็นท่านอยู่ในลักษณะเหมือนที่เห็นในปัจจุบันนี้ ผิดไปจากเดิมบ้างเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งหลวงปู่เป็นคนพูดน้อยและไม่เคยเล่าประวัติส่วนตัวให้ใครฟัง จึงไม่มีใครทราบประวัติและอายุที่แท้จริงของท่านได้ ชาวบ้านแถบนี้เห็นหลวงปู่บ่อยๆ ที่ป่าบ้านตะเคียนราม วัดตะเคียนราม (อำเภอภูสิงห์) แถวบ้านลุมพุก ตำบลกันทรารมย์ อำเภอขุขันธ์ และตามหมู่บ้านอื่นๆ รอบชายแดน ท่านจะอยู่แถบนี้โดยตลอด แต่ก็จะไม่อยู่เป็นประจำในที่ใดที่หนึ่ง บางทีหายไป ๒-๓ ปีก็จะกลับมาใหม่อีกครั้งโดยที่ไม่รู้ว่าหลวงปู่ไปไหน มาระยะหลังๆ นี้พบหลวงปู่เป็นประจำอยู่ในกระท่อมนาข้างต้นโพธิ์ บ้านขะยอง วัดโคกแก้ว บ้านโคกเจริญ กระท่อมนาระหว่างบ้านละลม กับบ้านจะบก กระท่อมนาบ้านรุน (อำเภอบัวเชด) และบ้านอื่นๆใกล้เคียง
หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล
หลวง ปู่หมุน ฐิตสีโล เกิดในสกุล“ ศรีสงคราม”หรือ “ แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ บิดา ชื่อ " ดี "มารดาชื่อ " อั๊ว " มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก ในปี 2460 ขณะอายุได้ 23 ปีได้เข้าอุปสมบทหมู่จำนวน 9 รูป โดยหลวงปู่เป็นรูปที่ 9 โดยมีโยมลุงของท่านเป็นเจ้าภาพ โดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเพ็งเป็นพระอนุสาวนาจารย์และหลวงพ่อผุยเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับรับฉายาว่า " ฐิตสีโล " แปลว่า " ผู้มีศีลตั้งมั่น "จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไป
ปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุน เริ่มออกศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยา และสมถกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก การเดินทางในสมัยนั้นเป็นที่ลำบากยากเย็น ต้องเดินเท้าเปล่าผจญภัยจากผีป่า หรือสัตว์ร้ายนานัปการ แต่หลวงปู่มิได้ย่อท้อ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมที่ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี กระทั่งศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคม อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนตร์ในสงคราม เป็นต้น
หลวงพ่อชำนาญ อุตตมปัญโญ วัดบางกุฏีทอง
ประวัติหลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎิทองหลวงพ่อชำนาญ เดิมท่านชื่อ ชำนาญ นามสกุล พันธ์หว้า เกิดเมื่อ ๓๐ มกราคม ๒๕๑๕ บิดาชื่อ คุณพ่อชะโอด พันธ์หว้า มารดาชื่อคุณแม่สำเนียง พันธ์หว้าบวชเป็นสามเณรเมื่อ ๑๙ กรกฏาคม ๒๕๒๙ ณ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ ๑๙ เมษายน ๒๕๓๘ณ วัดบางกุฏีทอง จังหวัดปทุมธานี สำหรับตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์มีดังนี้ครับพ.ศ.๒๕๓๙ได้รับเป็นรักษาการณ์เจ้าอาวาสวัดบางกุฏีทองพ.ศ.๒๕๔๑ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทองพ.ศ.๒๕๔๒ได้รับแต่งตั้งเป็นพระกรรมวาจาจารย์พ.ศ.๒๕๔๓ได้รับแต่งตั้งเป็นพระสมุห์ ฐานานุกรมในพระครูโสภณพิทักษ์ เจ้าคณะอำเภอ วัดโสภาราม อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานีพ.ศ.๒๕๕๐ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูปทุมวรกิจ พระครูสัญญาบัตร เจ้าอาวาสวัดราษฏร์ชั้นโทสำหรับประวัติการศึกษาวิชาอาคม เท่าที่ท่านเมตตาเล่าให้ผมรับฟังค่อนข้างยาวเหยียด เอาพอสังเขปว่าท่านสนใจและศึกษาในศาสตร์ประเภทนี้ตั้งแต่ยังเด็ก ได้ออกติดตามคุณลุงของท่านไปเที่ยวตามวัดที่มีพระเกจิอาจารย์เก่งๆและตามสำนักอาจารย์ฆราวาสที่มีชื่อเสียงผลพลอยได้จากการติดตามก็คือรอยสักยันต์ธงชัยบริเวณต้นแขนขวาของท่านแหละครับ อาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาอาคมให้ท่านมีเยอะครับแต่ที่ท่านได้มากที่สุดก็คือหลวงปู่สุรินทร์ เรวโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบางกุฎีทองครับ
หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน
หลวงตา ถือกำเนิดในครอบครัวชาวนาแห่งสกุล “โลหิตดี” ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันอังคารที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ตรงกับวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ปีฉลู บิดาชื่อ “นายทองดี” มารดาชื่อ “นางแพง” ได้ให้มงคลนามว่า “บัว”
วัยเด็ก
ขณะที่แม่ตั้งครรภ์นั้น ได้ปรารภขึ้นในครอบครัวและหมู่ญาติว่า “ธรรมดาทารกในครรภ์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นมา ต้องดิ้นบ้างไม่มากก็น้อยพอให้แม่รู้สึก แต่กับลูกคนนี้แปลกกว่าคนอื่น ตรงที่นอนนิ่งเงียบเหมือนไม่มีลมหายใจ จนบ่อยครั้งทำให้แม่คิดตกอกตกใจว่า “ไม่ใช่ตายไปแล้วหรือ? ทำไมจึงเงียบผิดปกตินัก” ครั้นเวลาจะดิ้น ก็ดิ้นผิดทารกทั่วๆไป คือดิ้นเสียจนแม่เจ็บในท้อง ครั้นพอถึงระยะจะคลอด ก็เจ็บท้องอยู่ถึง ๓ วัน ก็ไม่เห็นว่าจะคลอดแต่อย่างใด ตอนเจ็บท้องอยู่นั้น ก็ชนิดจะเอาให้ล้มตายไปเลย เสร็จแล้วก็หายเงียบไป จนกระทั่งคิดว่า ไม่ใช่ตายไปอีกแล้วหรือ? แล้วก็กลับดิ้นขึ้นมาอีก...”
คุณตาของท่านทายถึงอุปนิสัยของทารกในครรภ์ว่า “ถ้าหากเป็นชาย ชอบไปทางไหน เรียกว่า ขาดเลยทีเดียว เป็นคนจิตใจหนักแน่น ลงได้ทำอะไรแล้ว ต้องจริงทุกอย่าง ไม่มีเหลาะๆแหละๆ” เมื่อทารกคลอดออกมา มีสายรกพาดเฉวียงบ่าออกมาด้วย คุณตาเห็นดังนั้น จึงพูดขึ้นว่า “สายบาตรๆ” แล้วทำนายไว้เป็น ๓ อย่าง คือ
๑.สายบาตร ถ้าเป็นนักปราชญ์จะเหยียบแผ่นดินสะเทือน
๒.สายกำยำ ถ้าเป็นนายพราน ก็จะมีความชำนาญลือลั่นสะท้านป่า
๓.สายโซ่ ถ้าเป็นโจร ก็เป็นประเภทคุกตารางแตก
การศึกษา
ท่านเป็นเด็กที่เรียนหนังสือเก่ง มีความขยัน อดทน และ มีความรับผิดชอบสูง จะเห็นได้จากผลการเรียนอันดีเยี่ยม โดยสอบได้ที่สองในชั้นประถมปีที่ ๑ พอขึ้นชั้นประถมปีที่ ๒, ที่ ๓ ก็สอบได้ที่หนึ่งมาโดยตลอด เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ ๓ ซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับสูงสุดในสมัยนั้นแล้ว ท่านก็ไม่ได้เรียนต่อในชั้นใดอีกเลย
หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล
หลวงปู่ขาว มีนามเดิมว่า ขาว โคระถา เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๔๓๑ ที่บ้านชะเนง ต.หนองแก้ว อ.เมือง จ.อำนาจ เจริญ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายพั่วและนางรอด โคระถา ครอบครัวทำนาและค้าขาย
เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี บิดามารดาได้จัดให้มีครอบครัว ภรรยาของท่านชื่อ นางมี และมีบุตรด้วยกัน ๓ คน ซึ่งต่อมาได้แยกทางกัน ท่านเป็นผู้มีนิสัยเด็ดเดี่ยวเอาจริงเอาจังมาก ประกอบกับความมีศรัทธาต่อหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา พ.ศ.๒๔๖๒ เมื่อท่านอายุได้ ๓๑ ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดโพธิ์ศรี บ้านบ่อชะเนง ต.หนองแก้ว อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ โดยมีพระครูพุฒิศักดิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์บุญจันทร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
เมื่ออุปสมบทแล้ว หลวงปู่ขาวท่านได้จำพรรษาที่วัดโพธิ์ศรี เป็นเวลา ๖ พรรษา เนื่องจากท่านได้บังเกิดศรัทธาในปฏิปทาของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านจึงเข้าญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๘ อายุได้ ๓๗ ปี ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วได้จำพรรษาอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี เป็นเวลา ๘ ปี จากนั้นได้เดินธุดงค์ตามพระอาจารย์หลวงปู่มั่น ไปปฏิบัติธรรมในสถานที่ต่างๆ ท่านออกเดินทางไปแทบทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ ท่านยังได้เคยเดินธุดงค์ร่วมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่แหวน สุ จิณโณ, หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นเวลารวมกันหลายปีอีกด้วย
วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ประวัติหลวงพ่อโฉม และการส้างวัตถุมงคล ของวัดตำหนัก
ปทุมธานี หรือเมืองสามโคก ในอดีตเป็นอีกจังหวัดหนึ่งซึ่งมีประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค้า ควบคู่กับกรุงศรีอยุธยา โดยเมืองสามโคกมีสถานะเป็นเมืองตรี ครั้นต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเสิศหล้านภาลัย ทรงพระราชทานนามเมืองสามโคกใหม่ว่าปทุมธานี คือเมืองแห่งดอกบัว ซึ่งจังหวัดปทุมนั้นมี ชาวมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารแห่งองค์พระพุทธเจ้าหลวงเมื่อครั้งในอดีต ดังนั้น ศิลปะหลายแขนงยังมีการสืบทอดจนถึงปัจจุบัน และอีกแขนงที่กล่าวถึงนั้นก็คือสายวิชาพระเวชวิทยาคม การลงอักขระ ปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ซึ่งยังมีการสืบทอดพระเวทย์สายรามัญ จนถึงปัจจุบันจากรุ่นสู่รุ่นมิได้น้อยไปกว่าที่อื่นเลย ดังเช่น พระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษหลาบรูป อาทิ เจ้าคุณรามัญมุณี วัดบางหลวง หลวงพ่อช้างวัดเขียนเขต หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม หลวงปู่ด๊วด วัดคลองสี่ หลวงพ่อเทียนวัดโบสถ์ และอีกมากมายหลายท่าน
หลวงพ่อจ่าง เกศโร วัดไผ่ล้อม อำเภอสามโคก ท่านเป็นเกจิคณาจารย์ยุคเก่า ผู้เรืองเวทย์วิทยาคมอย่างมากในสมัยนั้น ท่านมีความเชี่ยวชาญ ในเรื่องกรรมฐานและลงอักขระบนตะกรุด ที่มีอานุภาพทางคงกระพันชาตรี ยิ่งนักเลงในย่านนั้นนิยมเคียนตะกรุดของหลวงปุ่จ่างทั้งหมด ซึ่งในปัจจุบันผู้สืบสานพุทธานุคมสายหลวงปุ่จ่าง วัดไผ่ล้อม ที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบัน ก็คือ หลวงพ่อโฉม เตชวโร แห่ง วัดตำหนัก นั้นเอง
หลวงปู่ผล อินทังกุโร พระเกจิแห่งบางบาล
ในช่วงรอบทศวรรษที่ผ่านมา เมืองกรุงเก่าพระนครศรีอยุธยา มีพระเกจิอาจารย์เรืองนามอยู่ 3 รูปร่วมสมัยและเป็นสหธรรมิกกัน ประกอบด้วย หลวงปู่เมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา, หลวงปู่มี วัดมารวิชัย และ หลวงปู่ทิม วัดพระขาว ซึ่งมีวัยวุฒิไล่เลี่ยกัน ด้านความเป็นเอกอุก็ไม่แตกต่างกัน โดยเฉพาะด้านวิทยาคม
แต่ด้วยสังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยงแท้ หลวงปู่เมี้ยน หลวงปู่มี และหลวงปู่ทิม ละสังขารไปแล้ว สร้างความอาลัยให้กับลูกศิษย์ลูกหา และผู้ที่เลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก
ภาระเจตนาบุญได้รับการสืบสานต่อโดย หลวงปู่ผล อินทังกุโร พระเกจิอาจารย์แห่งวัดอินทาราม อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ล้วนแล้วแต่ต้องนิมนต์หลวงปู่ผล เพื่อทำหน้าที่นั่งปรกอธิษฐานจิต
ปัจจุบัน พระครูศีลทิวากร หรือ หลวงปู่ผล สิริอายุ 92 ปี พรรษา 72 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอินทาราม อ.บางบาล จ.พระนคร ศรีอยุธยา
วันอาทิตย์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
กทม.แห่เทียนพรรษาพระราชทาน ปี 2556
กรมศาสนาเชิญชวนประชาชนร่วมกิจกรรมสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในวันอาสาหฬบูชาและเข้าพรรษา ในวัดทั่วประเทศ
ขบวนรถแห่เทียนพรรษา เนื่องในงานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนาเทศกาลอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาจากท้องสนามหลวง โดยต้นเทียนพรรษาจะนำไปถวายพระอารามหลวงในเขตกรุงเทพมหานคร และวัดพระอารามหลวงต่างจังหวัดทั่วประเทศ กิจกรรมในวันนี้กรมการศาสนา พร้อมด้วยเครือข่ายองค์กรเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงาม
บรรยกาศการแกะสลักเทียนบรรษาตามวัดต่างๆ ขณะนี้ก็คึกคักสุดขีดเพราะเข้าใกล้ วันประกวดขบวนแห่เทียนชิงถ้วยพระราชทานปะจำปี 2556 วัดต่างๆทั้ง 25 อำเภอต่างก็ขนเอาช่างเทียนฝีมือดีจากทั่วประเทศ มาโชว์การแกะสลักกันอย่างเต็มที่ ซึ่งต้นเทียนบางต้นมีมูลค่าเกือบ 1 ล้านบาท
วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
รถยนต์ป้ายแดงกับการเดินทางไกล
การเดินทางไกลกับรถยนต์ใหม่ สามารถทำได้ แต่ต้องใช้เทคนิคและความระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ยังไม่พ้นระยะรัน-อิน การเดินทางไกลกับการใช้รอบเครื่องยนต์ในรถยนต์ใหม่ อาจมีความเข้าใจผิดในหลายกรณี โดยเฉพาะในเรื่องความเร็ว ผู้ใช้ส่วนหนึ่งคิดว่า ในเมื่อเดินทางไกลมักใช้ความเร็วสูง แล้วจะควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้อย่างไร เพราะถ้าขับเร็วก็น่าจะต้องใช้รอบสูงด้วย แต่ความจริงไมได้เป็นเช่นนั้น
การขับด้วยรอบเครื่องยนต์ระดับปานกลาง ก็สามารถไต่ขึ้นสู่ความเร็วตามกฎหมายกำหนดได้ รถยนต์ส่วนใหญ่ในความเร็วระดับ 90 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเกียร์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติมักใช้รอบเครื่องยนต์ประมาณ 2,500 - 3,000 รอบ / นาที เท่านั้น ซึ่งไม่สูงเกินไป การเดินทางไกลมีข้อดี คือ สามารถขับได้อย่างนุ่มนวล และควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ แต่ไม่ควรขับแช่ที่ความเร็วเดียวกันต่อเนื่องนานๆ ควรเปลี่ยนแปลงความเร็วบ้าง โดยอาจสลับด้วยกาสรผ่อนความเร็วลงเล็กน้อย
สำหรับกรณีคับขัน เช่น ต้องเร่งแซงหลบหลีก ก็สามารถกดคันเร่งได้เลย ไม่ต้องเน้นรักษารอบเครื่องยนต์มากเกินไป จนขาดความปลอดภัยหรือถูกชน
++อย่าไว้ใจ.....แม้เป็นป้ายแดง++
รถยนต์ส่วนใหญ่มักมีการผลิตครั้งละเป็นจำนวนมากๆ แม้มีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด ก็ยังอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นเจ้าของรถป้ายแดงจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าพบความผิดปกติจะได้เคลมก่อนหมดประกัน
การขับด้วยรอบเครื่องยนต์ระดับปานกลาง ก็สามารถไต่ขึ้นสู่ความเร็วตามกฎหมายกำหนดได้ รถยนต์ส่วนใหญ่ในความเร็วระดับ 90 - 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ในเกียร์สูงสุดไม่ว่าจะเป็นเกียร์ธรรมดาหรือเกียร์อัตโนมัติมักใช้รอบเครื่องยนต์ประมาณ 2,500 - 3,000 รอบ / นาที เท่านั้น ซึ่งไม่สูงเกินไป การเดินทางไกลมีข้อดี คือ สามารถขับได้อย่างนุ่มนวล และควบคุมรอบเครื่องยนต์ได้ตามต้องการ แต่ไม่ควรขับแช่ที่ความเร็วเดียวกันต่อเนื่องนานๆ ควรเปลี่ยนแปลงความเร็วบ้าง โดยอาจสลับด้วยกาสรผ่อนความเร็วลงเล็กน้อย
สำหรับกรณีคับขัน เช่น ต้องเร่งแซงหลบหลีก ก็สามารถกดคันเร่งได้เลย ไม่ต้องเน้นรักษารอบเครื่องยนต์มากเกินไป จนขาดความปลอดภัยหรือถูกชน
++อย่าไว้ใจ.....แม้เป็นป้ายแดง++
รถยนต์ส่วนใหญ่มักมีการผลิตครั้งละเป็นจำนวนมากๆ แม้มีการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวด ก็ยังอาจเกิดข้อผิดพลาดขึ้นได้ ดังนั้นเจ้าของรถป้ายแดงจึงไม่ควรนิ่งนอนใจ หมั่นตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ต่างๆ ถ้าพบความผิดปกติจะได้เคลมก่อนหมดประกัน
ข้อดีข้อเสียของ เทอร์โบแปรผัน ควรรู้ไว้บ้างนะครับ
เทอร์โบแปรผัน มีชื่อเรียกกันต่างๆไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต เช่นถ้าเป็นของ Holset
จะเรียกว่า VGT (Variable Geometry Turbo) แต่ถ้าเป็นของ Garrett ก็จะเรียก VNT (Variable Nozzle Turbine) และถ้าเป็นของ Borg Warner เรียกว่า VTG (Variable Turbine Geometry) เทอร์โบแบบนี้มีมานานมากแล้วในต่างประเทศ ในราวปี 1989 โดยบริษัท Shelby แต่เทอร์โบแบบนี้ในสมัยแรกๆยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากเท่าไรนัก เพราะด้วยกลไกลที่สลับซับซ้อน กว่าเทอร์โบแบบทั่วๆไป การหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ต้องทนต่อความร้อนกว่า 1,000 องศา การกัดกร่อน สนิม และคราบเขม่าจากไอเสียทำให้เทอร์โบแบบนี้ มีปัญหาด้านอายุการใช้งานเป็นอย่างมาก แต่ด้วยความสามารถที่ดีกว่า ของเทอร์โบแบบนี้ ทำให้หลายๆบริษัทที่ผลิตเทอร์โบต่างคิดค้น และพัฒนาจนเทคโนโลยีในปัจุจุบัน สามารถทำให้เทอร์โบแปรผันมีความคงทนขึ้นมาก จนเป็นที่นิยมในรถยนต์ต่างประเทศเกือบทุกยี่ห้อ ทั้งเครื่องยนต์เบนซิล และดีเซล จนถึงเครื่องยนต์กว่า 1,000 แรงม้าก็เริ่มมีใช้กันบ้างแล้ว เทอร์โบแบบนี้ถ้าเป็นช่างเทอร์โบบ้านเรา ต่างเห็นกันมาเป็นสิบปีแล้ว ส่วนมากตามอะไหล่เก่าเชียงกง หรือติดเครื่องรถยุโรป และส่วนมากจะเรียกกันว่า เทอร์โบบานเกล็ด สังเกตกันง่ายๆว่าโข่งไอเสียจะใหญ่กว่า เทอร์โบธรรมดามาก ภายในโข่งไอเสียจะมีครีบบางๆคล้ายบานเกล็ดหน้าต่าง ต่อกับชุดกลไกลการเปิด ? ปิด ด้วยกระป๋องคล้ายเวสเกตบ้างหรือ มอเตอร์ไฟฟ้าบ้าง ถ้าเป็นรุ่นมอเตอร์มักจะทิ้ง หรือเปลี่ยนโข่งหลังใหม่ แต่ถ้าเป็นกระป๋องลมดัน ก็ใช้ได้เลยต้องยอมรับว่า อัตตราเร่งดีกว่าเทอร์โบธรรมดาอยู่พอควร
วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เคล็ดลับเที่ยวหน้าฝนให้ปลอดภัย
ถึงแม้อากาศจะไม่เป็นใจให้ออกจากบ้าน แต่หลายๆ คนก็ยังเลือกที่จะเดินทางท่องเที่ยวในช่วงหน้าฝน เนื่องจากที่เที่ยวตามธรรมชาติจะได้รับคบามชุ่มฉ่ำจากฝนอย่างเต็มที่จนดอกใบผลิบานชวนให้ไปสัมผัสธรรมชาติ แต่ก่อนจะเดินทางและขณะเดินทางช่วงหน้าฝนจะต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง วันนี้เราจึงมีเคล็ดลับในการป้องกันตัวจากฝนและอุบัติเหตุจากการเดินทางมาฝาก
เที่ยวให้สนุกอย่าลืมพก
เที่ยวให้สนุกอย่าลืมพก
- เตรียมอุปกรณ์กันฝน พร้อมรับมือกิจกรรมสนุกๆ อย่างไม่ต้องกลัวเปียก
- เตรียมเสื้อผ้าไปเผื่อ เพราะไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เพื่อลดปัญหาความอับชื้นและกลิ่นอับในร่างกาย
- ถ้าเข้าป่าหรือน้ำตกอาจเจอยุงฝูงใหญ่ จึงควรทาโลชั่นทากันยุง ทุกครั้ง
- เตรียมยารักษาโรคที่จำเป็น อาทิ ยาลดไข้ ยาทำแผล ไปด้วย
เที่ยวงานปาฏิหาริย์ ตำนานเมืองอ่างทอง ปี 2556
ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวงานปาฏิหาริย์ ตำนานเมืองอ่างทอง ปี 2556 ซึ่งจะถูกจัดขึ้นในช่วงระหว่างวันที่ 19 - 21 กรกฎาคม ปี 2556 ณ บริเวณหน้าองค์พระใหญ่ วัดม่วง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
โดยภายในงานปาฏิหาริย์ ตำนานเมืองอ่างทองจะมีการแสดงประกอบแสง เสียง และสื่อผสม รวมทั้งเทคนิคสมัยใหม่ ระบบการฉายภาพบนม่านน้ำ เลเซอร์ ไพโรเทคนิค การแสดงศิลปะพื้นบ้านต่าง ๆ นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดตลาดย้อนยุคภาคกลาง การจำหน่ายสินค้า OTOP เด่นของจังหวัดอ่างทอง การจัดงานในครั้งนี้นับว่าเป็นงานแสดงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทอง โดยเปิดให้ชมฟรี!!
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)