บันทึกความทรงจำ การเดินทางท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ การทำ SEO แหล่งความรู้ทุกแขนงถูกเก็บรวบรวมไว้ที่นี่ให้ทุกคนได้ศึกษา ได้เก็บเกี่ยวความรู้จากความทรงจำอันดีงาม ให้เช่าวัตถุมงคล พระเครื่อง พระบูชา รับตรงจากวัด แจกรูปฟรี
วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556
หลวงปู่มหาเจิม ปัญญาภโร
หลวงปู่มหาเจิม นามเดิมว่า เจิม วรรณโมฬี
เกิดที่บ้านหนองแหน ต.เมืองใหม่ อ.พนมสารคาม(ปัจจุบันเป็น อ.ราชสาสน์) จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๙ ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีมะโรง
บิดามีนามว่า นายหรุ่น วรรณโมฬี มารดามีนามว่า นางม้วน วรรณโมฬี
มีพี่น้องทั้งหมด ๖ คน เป็นผู้ชาย ๔ คน ผู้หญิง ๒ คน ได้เสียชีวิตแล้วทั้งหมด ๕ คน
ที่มีชีวิตอยู่ปัจจุบันเหลือหลวงปู่เพียงองค์เดียว
การศึกษาของหลวงปู่ในวัยเด็กต้องศึกษากับวัดที่อยู่ใกล้บ้าน
โดยเรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
พออ่านออกเขียนได้เท่านั้น เพราะยังไม่มีโรงเรียนประชาบาลตั้งอยู่ในวัดสมัยนั้น
และยังต้องย้ายออกจากบ้าน ห่างจากบิดามารดาและญาติพี่น้องมาอยู่ที่วัดตั้งแต่อายุประมาณ ๘ ขวบ
หลวงปู่ได้บรรพชาเป็นสามเฌร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๐ อายุได้ ๑๒ ขวบ
กับหลวงพ่อทองซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดแสนภุมมาวาส และได้อยู่กับท่าน ๑ พรรษา
ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลวงปู่ได้เดินทางเข้ามาในกรุงเทพฯ และมาอยู่ที่วัดบรมนิวาส ถนนรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
โดยคุณย่าอิ่ม รัดสกุล เป็นผู้นำมาฝากฝังกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)
และได้ญัตติเป็นธรรมยุต กับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อีกด้วย
การศึกษาบาลีและนักธรรม ได้เริ่มศึกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑
หลวงปู่สอบบาลีไวยากรณ์ได้ที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๒
และ ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้นักธรรมเอก
และหลวงปู่ยังสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ได้ในปีเดียวกัน
เมื่อหลวงปู่อายุครบ ๒๐ ปี บริบูรณ์ จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส โดยมีพระพรหมมุนี (ติสฺโส อ้วน)
เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพินิจ วิหารการ (ขำ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระครูวินัยธรดำ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ หลวงปู่ได้ออกปฏิบัติ โดยเดินทางขึ้นสู่ภาคเหนือ ได้จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๑ พรรษา
ปี พ.ศ. ๒๔๘๒-พ.ศ. ๒๔๘๗ จำพรรษาที่วัดป่าโรงธรรมสามัคคี อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ จำพรรษาที่วัดทิพย์วนาราม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
ปี พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้กลับมาจำพรรษาที่ วัดป่าโรงธรรมสามัคคี อีกครั้ง
ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ลงมาอยู่ภาคกลาง ได้ลงไปจำพรรษาที่อ่าวยาง จ.จันทบุรี เพียงรูปเดียว
ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ได้ไปจำพรรษาที่อ่าวหมู กับ พระอาจารย์น้อย เกตุโร อยู่ ๑ พรรษา
และได้เดินทางลงไปจำพรรษาที่ปักษ์ใต้ โดยได้ไปอยู่กับหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (พระราชนิโรธรังสีคัมคีร์ปัญญาวิศิษฏ์) ที่จังหวัดภูเก็ต
ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ จำพรรษาที่อ่าวลึก จ.กระบี่ กับอาจารย์พรหมมา
ปี พ.ศ. ๒๔๙๖-พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้อยูจำพรรษาที่คลองช่องลม อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ กลับมาจำพรรษาที่วัดแสนภุมมาวาส อันเป็นบ้านเกิด เพื่อเยี่ยมโปรดโยมบิดา โยมมารดา
ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ กลับลงไปภาวนาที่ภาคใต้อีกครั้ง โดยจำพรราที่อ่าวลึก จ.กระบี่ ได้ ๑ พรรษา
ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ จำพรรษาที่วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย กับหลวงปู่เหรียญ วรลาโภ (พระสุธรรมคณาจารย์)
ปี พ.ศ. ๒๕๐๔-พ.ศ. ๒๕๐๗ จำพรรษาที่วัดเขาแก้ว จ.จันทบุรี
ปี พ.ศ. ๒๕๐๘-พ.ศ. ๒๕๑๗ จำพรรษาที่วัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี
ปี พ.ศ. ๒๕๑๘ กลับไปวัดเขาช่องลม อ.อ่าวลึก จ.กระบี่อีกครั้ง และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส
จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๑๙-พ.ศ. ๒๕๓๑ และในระหว่างนั้นหลวงปู่ได้ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกระบี่ และ พังงา
ต่อมาท่านได้มาอยู่ที่มูลนิธิพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซอยจรัลสนิทวงค์ ๓๗ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
เพื่อรักษาอาการอาพาธ และมาพักอยู่กับหลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท (พระครูสุทธิธรรมรังษี) ที่วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
ปี พ.ศ. ๒๕๓๓-ปัจจุบัน หลวงปู่ได้รับอารธนานิมนต์มาเป็นประธานสงฆ์ วัดสระมงคล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งเดิมมีพื้นที่เป็นป่าช้าเก่า
สหธรรมิกของท่านที่เคยอยู่ร่วมกันมามีมากมายหลายท่าน
เช่น หลวงปู่เทศน์ เทสก์รังษี ,หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ ,หลวงปู่สิม พุทธาจาโร ,หลวงปู่เจี๊ยะ จุนโท ,หลวงปู่มหาเนียม สุวโจ ,หลวงปู่จันทร์แรม เขมสิริ เป็นต้น
หลวงปู่ท่านเป็นพระที่ชอบสันโดษไม่หวังลาภยศใดๆ มีลูกศิษย์มาถามท่านว่าทำไมท่านไม่เทศน์บ้าง ท่านตอบว่า
ธรรมมีมากมาย พระเทศน์เก่งๆก็มีเยอะ แต่คนเอาธรรมไปใช้มีน้อย
มีลูกศิษย์ท่านนึงขอธรรมะจากท่าน ท่านได้ให้ธรรมะสั้นๆ แต่ออกจากใจท่านแท้ๆ
ท่านเขียนไว้ว่า "ปล่อยว่าง วางเบา เอาหนัก" ท่านบอกว่าใครทำได้ถึงตรงนี้พ้นทุกข์ได้แน่นอน
ป้ายกำกับ:
ประวัติเกจิอาจารย์,
พระอรหันต์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น