บันทึกความทรงจำ การเดินทางท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว คอมพิวเตอร์ การทำ SEO แหล่งความรู้ทุกแขนงถูกเก็บรวบรวมไว้ที่นี่ให้ทุกคนได้ศึกษา ได้เก็บเกี่ยวความรู้จากความทรงจำอันดีงาม ให้เช่าวัตถุมงคล พระเครื่อง พระบูชา รับตรงจากวัด แจกรูปฟรี
วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ขอเชิญร่วมงาน ประเพณีกำฟ้าไทพวน ประจำปี 2559
สำนักงานแพร่ ขอเชิญชวนนักท่องเที่ยว และผู้สนใจเที่ยว งาน “ประเพณีกำฟ้า ประจำปี 2559” ในระหว่างวันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ 2559 ณ สนามกีฬา เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
นางธนภร พูลเพิ่ม ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ กล่าวว่า เทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง ได้กำหนดจัดงานประเพณีกำฟ้าของชาวไทยพวนตำบลทุ่งโฮ้ง ประจำปี 2559 ในระหว่างวันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ 2559 ณ สนามกีฬาเทศบาลตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัด แพร่ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่ออนุรักษ์สืบสานและเผยแพร่ขนบประเพณี วัฒนธรรมวิถีชีวิต และภูมิปัญญา ท้องถิ่นของชาวไทยพวนที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ ตลอดจนเพื่อเป็นการสักการะบูชา และรำลึกถึงบรรพบุรุษ ของชาวไทยพวน
ชาวไทยพวนบ้านทุ่งโฮ้ง อพยพมาจากเมืองพวน แขวงเมืองเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2360 – 2380ชื่อเดิมเรียกว่า บ้านทั่งโห้ง “คำว่าทั่ง” หมาย ถึง ที่รองรับการตีเหล็ก คำว่า “โห้ง”เป็นภาษาไทยพวน หมายถึง สถานที่เป็นแอ่งลึกลงไป คนพวน กล่าวว่า สมัยก่อนนั้นคนพวนบ้านทุ่งโฮ้งจะมีเตาตีเหล็กกันแทบทุกหลังคาเรือน จึงเรียกว่า “บ้านทั่ง โห้ง” ส่วนคำว่า “ทุ่งโฮ้ง” คงจะเป็นคำเพี้ยนมาจากคำว่า “ทั่งโห้ง”ปัจจุบันอาชีพหลักของชาวบ้าน ทุ่งโฮ้ง คือ การทำผ้าหม้อห้อมแท้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษสืบทอดมาหลายชั่ว อายุคน และ เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดแพร่ จนได้รับการคัดเลือกเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOPเชิงหัตถกรรม (OTOP Village Champion Handicrafts Tourism)
ประวัติประเพณีกำฟ้า ตามประวัติศาสตร์ที่เล่าต่อกันมาว่า ครั้งหนึ่งพระเจ้าแผ่นดินสยาม มีโอกาสให้ เจ้าชมพูแห่งเมืองพวนยกทัพไปตีร่วมกับเจ้าเวียงจันทน์ ตีได้สำเร็จ ต่อมาเจ้าชมพูแข็งเมือง ไม่ยอม ส่งส่วยให้เวียงจันทน์ และหลวงพระบางเหมือนเช่นเคย เจ้านนท์แห่งเวียงจันทน์โกรธมาก จึงส่งให้ แม่ทัพชื่อเขียวไปปราบเมืองพวน เจ้าชมพูแพ้ถูกจับได้ และถูกสั่งประหารชีวิตด้วยหอก ขณะที่ทำการ ประหารนั้น เกิดเหตุอัศจรรย์ ฟ้าได้ผ่าลงมาถูกหอกหักสะบั้น เจ้านนท์เห็นว่าเจ้าชมพูเป็นผู้ที่มีบุญญา บารมี จึงสั่งให้ปล่อยกลับไปครองเมืองพวนดังเดิม ด้วยเหตุนี้ชาวไทยพวนจึงเห็นความสำคัญของฟ้า จึงเกิดประเพณี “กำฟ้า” ขึ้นตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
กำฟ้า หมายถึง การนับถือสักการะบูชาฟ้า การแสดงกตเวทิตาต่อฟ้าที่ท่านได้คุ้มครองให้มีอายุยืนยาว ให้อยู่ดีกินดี มีฝนตกต้องตามฤดูกาล มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ โดยชาวไทยพวนทุกคนจะหยุดทำงานทุก ชนิด คือ หยุดทำไร่ ทำนา ทอหูก ปั่นฝ้าย ตีเหล็ก เป็นต้น แม้แต่อุปกรณ์เครื่องมือทำมาหากินก็ต้อง เก็บเข้าที่ให้หมด คงเหลือแต่อุปกรณ์ในการหุงหาอาหารในแต่ละมื้อเท่านั้น ในวันกำฟ้า ชาวไทยพวน จะมีกิจกรรมร่วมกัน คือ การทำบุญตักบาตรในตอนเช้า การละเล่นในตอนกลางคืน และการพบปะ สังสรรค์ระหว่างเครือญาติด้วยกัน ในวันกำฟ้าจะเริ่มตั้งแต่รุ่งเช้าไปถึงค่ำ
กิจกรรมในงาน “ประเพณีกำฟ้า ประจำปี 2559” ประกอบด้วย พิธีบวงสรวงบรรพบุรุษไทยพวน พิธี ทำบุญตักบาตร การแสดงนิทรรศการชาวไทยพวน ตลาดไทยพวน การประกวดตัดเย็บ การประกวด ฟ้อนแอ่น การประกวดการทำอาหารพื้นเมือง การประกวดเทพีกำฟ้า ประจำปี 2559 การแข่งขันฟุต ซอล การแข่งขันชกมวยไทย การแสดงดนตรี การแสดงของโรงเรียนต่างๆ การเดินแฟชั่นโชว์ ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม ขบวนแห่งานประเพณีกำฟ้า
ป้ายกำกับ:
แหล่งท่องเที่ยว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น