วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitivism)

        ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1960 นักทฤษฎีการเรียนรู้เริ่มตระหนักว่า การที่จะเข้าถึงการเรียนรู้ได้อย่างสมบูรณ์นั้น จะต้องผ่านการพิจารณา ไตร่ตรอง การคิด (Thinking) เช่นเดียวกับพฤติกรรม และควรเริ่มสร้างแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ในทรรศนะของ การเปลี่ยนแปลงกระบวนการคิด(Mental change) มากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ดังนั้นจึงมี การเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากความสนใจเกี่ยวกับสิ่งเร้ากับการตอบสนอง

   
กลุ่มพุทธิปัญญา (Cognitivism)

        กลุ่มพุทธิปัญญา ให้ความสนใจเกี่ยวกับกระบวนการคิด การให้เหตุผลของผู้เรียน ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ที่มุ่งเน้นพฤติกรรมที่สังเกตได้เท่านั้น โดยมิได้สนใจกับกระบวนการคิดหรือกิจกรรมทางสติปัญญาของมนุษย์ (Mental activities)         ซึ่งเป็นสิ่งที่นักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญาตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องศึกษากระบวนการดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่สามารถสังเกตได้ โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พุทธิปัญญา (Cognitive) เป็นการให้ความสำคัญในการศึกษาเกี่ยวกับ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าภายนอก (ส่งผ่านโดยสื่อต่าง ๆ) กับสิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือ กระบวนการรู้-คิด หรือ กระบวนการคิด (Cognitive process) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ ขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการคิด (Cognitive process) ได้แก่

กระบวนการคิด (Cognitive Process)
   
      ความใส่ใจ (Attending)
      การรับรู้ (Perception)
      การจำได้ (Remembering)
      การคิดอย่างมีเหตุผล (Reasoning)
      จินตนาการหรือการวาดภาพในใจ (Imagining)
     การคาดการณ์ล่วงหน้าหรือการมีแผนการณ์รองรับ(Anticipating)
     การตัดสินใจ(Decision)
     การแก้ปัญหา (problem solving)
    การจัดกลุ่มสิ่งต่างๆ (Classifying)
    การตีความหมาย (Interpreting) ฯลฯ
    นักจิตวิทยากลุ่มพุทธิปัญญานิยม (Cognitivism)
   

         ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวความรู้ความเข้าใจนี้จำแนกย่อยออกเป็นหลายทฤษฎีเช่นกัน แต่ทฤษฎีซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมากในระหว่างนักจิตวิทยาการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้กันมากกับสถานการณ์การเรียนการสอน

ตัวอย่างเช่น

     ทฤษฎีพัฒนาการเชาว์ปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)
     ทฤษฎีการเรียนรู้โดยการค้นพบของบรูเนอร์ (Bruner)
     ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ ออซูเบล (Ausubel)
     ทฤษฎีการประมวลสารสนเทศของคลอสไมเออร์ (Klausmeier)
     ทฤษฎีความรู้เกี่ยวกับความคิดของตัวเอง ( Meta Cognitive )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น