วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

การเตรียมตัวเดินทางและข้อปฏิบัติในการเที่ยวน้ำตก


การเตรียมตัวเดินทาง และข้อควรปฎิบัติในการเที่ยวน้ำตก

การเตรียมตัวเดินทางเที่ยวน้ำตก

1. ศึกษาหาข้อมูล เกี่ยวกับน้ำตกที่จะเดินทางไปเที่ยวในทุก ๆ ด้าน เช่น การเดินทาง สภาพของ น้ำตก ที่ตั้ง และพื้นที่ ว่าอยู่ในพื้นที่ประเภทไหน เช่น อุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หรือพื้นที่ที่ อยู่ในความดูแลของจังหวัด นักท่องเที่ยวจะต้องทราบข้อมูล ตั้งแต่เริ่มออกเดินทางจนถึงการเข้าถึงตัวน้ำตก ซึ่งบางแห่งรถยนต์เข้าถึง บางแห่งต้องเดินเท้า ต่อ บางแห่งต้องเดินป่าและบางแห่งอาจต้องล่องแก่งเข้าไป หรือจำเป็นต้องพักค้างแรมในป่า

2. วางแผนการเดินทาง โดยนำข้อมูลมาจัดเรียง เช่น ในบางพื้นที่อาจจะมีน้ำตกอยู่ใกล้เคียงกัน หลายแห่ง บางพื้นที่อาจมีจุดสนใจใกล้เคียงอื่น ๆ ด้วย จึงต้องจัดการเดินทางออกเป็นวัน ๆ

3. ติดต่อประสานงานล่วงหน้า เท่าที่จะทำได้ เพื่อความแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นพาหนะ การจองตั๋ว ล่วงหน้า จอง ที่พัก โดยเฉพาะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ หรือหากเป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งต้องทำหนังสือขออนุญาต เข้าไปศึกษาธรรมชาติก่อนจึงจะเข้าไปในพื้นที่ได้ แต่เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่าบางแห่ง อาจอนุโลมให้เข้าไป เที่ยวชมได้ เช่น น้ำตกโตนงาช้าง และน้ำตกทีลอซู

4. เตรียมพาหนะให้พร้อม หากเป็นรถที่ขับไปเองต้องตรวจสภาพเส้นทางในช่วงนั้น ตรวจความพร้อมของ พาหนะให้สมบูรณ์ หากเป็นรถที่เช่าเหมาไปต้องบอกข้อมูลกับคนขับให้ทราบเพื่อการเตรียมตัว

5. รองเท้าที่เตรียมไป ควรให้เหมาะกับสภาพของน้ำตกที่จะเดินทางไป เช่น หากเป็นน้ำตกที่รถ เข้าถึง ไม่ ต้องเดินมาก ก็อาจเป็นรองเท้าแตะแบบรัดส้นธรรมดา แต่หากต้องเดินมากหน่อยใน เส้นทางที่ค่อนข้าง สมบุกสมบัน ควรใช้รองเท้าผ้าใบที่สวมสบาย ๆ พร้อมจะลุยและเปียกน้ำ เพราะบางช่วงต้องข้ามน้ำ หรือ หากเป็นเส้นทางเดินป่า เช่น น้ำตกขุนพองที่ต้อง เดินป่า ประมาณ 10 กิโลเมตร ก็ควรใช้รองเท้าสำหรับเดิน ป่า

6. เตรียมอุปกรณ์เพื่อพักแรมในป่า รวมทั้งน้ำและอาหารให้พร้อม ในกรณีที่ต้องพักค้างกลางป่า

7. เตรียมยากันแมลง ทาก และชุดสามัญ

8. เตรียมร่างกายให้แข็งแรง


ข้อควรระวังในการเที่ยวน้ำตก

• เนื่องจากช่วงของการเดินทางเที่ยวน้ำตกนั้น มักอยู่ในฤดูฝน ควรจะตรวจตรา ระวังในเรื่อง ระดับน้ำและ น้ำป่า หากสังเกตว่าธารน้ำตกมีน้ำเต็มเปี่ยม ไหลแรง การเดินข้ามลำธารหรือ ลงเล่นน้ำควรต้องเพิ่มความ ระมัดระวัง หรือพยายามหลีกเลี่ยง และหากมีฝนตกหนักบริเวณนั้น หรือในผืนป่าต้นน้ำเป็นเวลานาน ๆ ควรขึ้นจากสายน้ำ และขึ้นมาอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัย

• การเดินป่า หรือเลาะริมลำธาร หากจำเป็นต้องตัดข้ามไปมาบ่อยครั้ง ก็ควรยอมเปียกด้วยการ เดินลุยน้ำ เพราะการโดดข้ามไปตามก้อนหิน อาจเสี่ยงต่อการลื่นล้มได้รับบาดเจ็บได้ หากจะต้องตั้งแค้มป์พักแรมกลางป่า ควรตั้งในที่สูงขึ้นมาจากสายน้ำพอสมควร เพราะอาจเกิด น้ำป่าไหล หลากลงมาได้

• ไม่ประมาท หรือหยอกล้อกันในบริเวณที่อาจจะเกิดอันตราย เช่น ริมผาน้ำตก ริมลำธาร เป็นต้น

• น้ำตกบางแห่งมีคำเตือน "ห้ามเล่นน้ำในบางบริเวณนี้" เช่น บริเวณอ่างน้ำตกพรหมโลก นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นบริเวณที่มีน้ำวน ทำให้ผู้ลงไปเล่น จมน้ำเสียชีวิตได้ จึงไม่ควรฝ่าฝืน


ข้อควรปฏิบัติและไม่ควรปฏิบัติ

• ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในการเที่ยวน้ำตก เพราะนอกจากจะทำให้เกิดการมึนเมา เสี่ยงต่อการ จมน้ำ หรือพลัดตกจากผาน้ำตกแล้ว เศษแก้วเศษขวดที่แตกยังเป็นอันตรายต่อ ผู้อื่นและธรรมชาติอีกด้วย

• ควรเคารพสิทธิ์ผู้อื่นที่เดินทางเข้าไปสัมผัสธรรมชาติร่วมกัน

• ไม่ทิ้งขยะในทุกพื้นที่ ยกเว้นภาชนะที่ได้จัดไว้ให้เท่านั้น

• ช่วยกันเก็บขยะออกจากพื้นที่ เพื่อให้แหล่งธรรมชาติงดงามน่าชมตลอดไป

• ควรปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานที่นั้น ๆ เช่น กฎระเบียบของอุทยานแห่งชาติ หรือกฎข้อ บังคับของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า

• ควรให้การเดินทางเข้าไปสัมผัสธรรมชาติของท่านเป็นการเรียนรู้ที่คุ้มค่าที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น