วันพุธที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วนตนเอง (Constructivism)

ก.  ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์และของวีก็อทกี้เป็นรากฐานสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพียเจต์อธิบายว่า  พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซาบหรือดูดซึมและกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา    ส่วนวีก็อทกี้  ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก   นักทฤษฎีกลุ่มการสร้างความรู้   มีความเห็นว่า  โลกนี้จะมีอยู่จริง  และสิ่งต่างๆมีอยู่ในโลกจริง  แต่ความหมายของสิ่งเหล่านั้น  มิได้มีอยู่ในตัวของมัน  สิ่งต่างๆมีความหมายขึ้นมาจากการคิดของคนที่รับรู้สิ่วนั้น  และแต่ละคนจะให้ความหมายของสิ่งเดียวกัน  แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย

ข.การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
1. ตามทฤษฎีการสร้างความรู้   ผลของการเรียนรู้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้
2.  เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย
3.  ผู้เรียนจะเป็นผู้มีบทบาทในการเรียนอย่างตื่นตัว   ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระบวนกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ
4.  ครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคม- จริยธรรม ให้เกิดขึ้น ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การร่วมมือ และการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดและประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และบุคคลอื่นๆ
5.  ในการเรียนการสอน  ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้อย่างเต็มที่  โดยผู้เรียนจะนำตนเองและควบคุมตนเองในการเรียนรู้
6.  การเรียนการสอนจะต้องเปลี่ยนจาก  “instruction” ไปเป็น  “construction”คือ เปลี่ยนจาก การให้ความรู้ไปเป็น การให้ผู้เรียนสร้างความรู้  บทบาทของครูก็คือ  จะต้องทำหน้าที่ช่วยสร้างแรงจูงใจภายในให้เกิดแก่ผู้เรียน
7.  ในด้านการประเมินผลการเรียนการสอน  ประเมินตามจุดมุ่งหมายในลักษณะที่ยืดหยุ่นกันไปในแต่ละบุคคลและการประเมินควรใช้วิธีที่หลากหลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น